ค่าวิชาชีพแพทย์หรือค่าธรรมเนียมแพทย์ที่เห็นในใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล หลายคนอาจสงสัยว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้คืออะไร ทำไมเราต้องจ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลและค่ายา แถมบางโรงพยาบาลยังแพงกว่าค่ารักษาอีกด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น มาทำความรู้จักกันว่า ‘ค่าวิชาชีพแพทย์’ คืออะไรและมีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย
ค่าวิชาชีพแพทย์คืออะไร?
ค่าวิชาชีพแพทย์หรือค่าธรรมเนียมแพทย์นั้นเป็นค่าตอบแทนของแพทย์ในการตรวจรักษา การให้คำปรึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพ รวมไปถึงการผ่าตัด การทำหัตถการต่างๆ และการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินในระหว่างการนำตัวส่งโรงพยาบาล ซึ่งทางโรงพยาบาลจะเรียกเก็บค่าวิชาชีพแพทย์หรือค่าธรรมเนียมแพทย์จากผู้ป่วยก่อนนำมาจ่ายให้กับแพทย์ตามสัญญาหรือระเบียบของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเมื่อมีอาการเจ็บป่วยและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ หากเป็นเวลาราชการจะมีค่าใช้จ่ายหลักๆ ที่ประกอบไปด้วย
- ค่ายารักษา
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจเลือด เป็นต้น
- ค่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์
- ค่าบริการทางการแพทย์
แต่ถ้าหากเป็นการรักษานอกเวลาราชการจะมีค่าวิชาชีพแพทย์หรือค่าธรรมเนียมแพทย์เพิ่มเติมเข้ามา ส่วนการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนจะมีการบวกค่าวิชาชีพแพทย์อยู่แล้วในทุกกรณี ซึ่งจะเป็นค่าตรวจรักษาทั่วไปของผู้ประกอบวิชาชีพ ค่าทำศัลยกรรมและหัตถการและค่าปฏิบัติการอื่นๆ เช่น การออกใบรับรองแพทย์ ค่าปรึกษาแพทย์ ค่าวิสัญญี เป็นต้น
อัตราค่าวิชาชีพแพทย์แพงไหม?
การคิดค่าวิชาชีพแพทย์นั้นโดยปกติโรงพยาบาลรัฐจะมีอัตราค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ ความเฉพาะทางของโรคและระดับความยากง่ายในการตรวจรักษา รวมถึงการผ่าตัดและหัตถการแต่ละประเภท ซึ่งจะอยู่ภายในกรอบเพดานต่ำสุดและสูงสุดของแต่ละโรงพยาบาลภายใต้การควบคุมของหน่วยงานด้านการบริการทางการแพทย์ โดยแบ่งออกเป็นประเภทได้ ดังนี้
- สำหรับผู้ป่วยนอก (OPD)
- คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการสูงสุดไม่เกิน 110 บาทต่อครั้ง
- ค่าวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางหรือค่าทันตแพทย์ในคลินิกพิเศษเฉพาะทาง นอกเวลาราชการไม่เกิน 600 บาท
- สำหรับบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ
- ค่าวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางทําผ่าตัดหรือหัตถการในห้องตรวจพิเศษขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล
- สำหรับผู้ป่วยใน (IPD)
- ค่าธรรมเนียมแพทย์เฉพาะทางนอกเวลาราชการสูงสุดไม่เกินวันละ 600 บาท
- ค่าธรรมเนียมแพทย์เฉพาะทางทําผ่าตัด/หัตถการในห้องตรวจพิเศษขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล
- สำหรับบริการผ่าตัด (Operation/Procedures)
- ค่าพยาบาลวิชาชีพในการผ่าตัด/หัตถการในห้องผ่าตัด อัตราสูงสุดไม่เกิน 720 บาท
- ค่าวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางทําผ่าตัดหรือหัตถการในห้องผ่าตัดตามที่โรงพยาบาลกำหนด
- ค่าวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางสําหรับวิสัญญีแพทย์ทําผ่าตัดหรือหัตถการ อัตราสูงสุด ไม่เกินร้อยละ 40 ของค่าวิชาแพทย์เฉพาะทางทําผ่าตัดหรือหัตถการ
ดังนั้น ในทุกการรักษาโดยเฉพาะนอกเวลาราชการสำหรับโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาจจำเป็นต้องทราบถึงค่าใช้จ่ายสำหรับค่าวิชาชีพแพทย์ด้วย เนื่องจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นค่าดำเนินการของโรงพยาบาลและค่าจ้างสำหรับแพทย์ เพื่อให้การรักษาในทุกโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับบริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุด
คำแนะนำเมื่อต้องจ่ายค่าวิชาชีพแพทย์
อย่างไรก็ตาม ค่าวิชาชีพแพทย์สำหรับบางโรค โดยเฉพาะโรคร้ายแรงที่ต้องมีการตรวจรักษาที่เฉพาะเจาะจงอาจต้องทำใจว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งมีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น ยิ่งต้องทำการตรวจรักษาหลายครั้งก็ยิ่งทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น จึงแนะนำว่าควรมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาโรคร้ายแรง ค่าห้องเมื่อจำเป็นต้องนอนพักฟื้น รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลและค่าวิชาชีพแพทย์ด้วย เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉินและอาจบานปลายเมื่อต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถนำเบี้ยประกันมาใช้ในการหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ตามประกาศจากทางกรมสรรพากร จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้
ปัจจุบันประกันสุขภาพมีให้เลือกหลากหลายโดยสามารถเข้าไปเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพออนไลน์ที่ Rabbit Care ที่มีทั้งประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก ประกันโรคร้ายแรง อุบัติเหตุและประกันสุขภาพเด็ก แถมยังมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านวีดีโอคอลและปรึกษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทาง LINE Official Account อีกด้วย รวมถึงสามารถเข้าถึงความคุ้มครองได้อย่างรวดเร็วทันใจโดยไม่ต้องติดต่อตัวแทนประกัน เปรียบเทียบแผนประกันได้ที่ https://rabbitcare.com/health-insurance